ผู้แต่ง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กวีสำนักวัดถนน
กวีวัดสังขจาย
(พระเทพโมลี
(กลิ่น)
(เจ้าพระยาพระคลัง
(หน)
ลักษณะคำประพันธ์
ความเรียงร้อยแก้ว ร่ายยาว
กลบท กลอนพื้นบ้าน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้ในการสวด เทศนาสั่งสอน
ความเป็นมา
เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่
๑๐ เรื่อง
ที่เรียกกันว่า ทศชาติ
แต่อีก ๙ เรื่อง
ไม่เรียกว่ามหาชาติ
คงเรียกแต่เวสสันดรชาดก
เรื่องเดียวว่า มหาชาติ
ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โปรดประทานอธิบายว่า
พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า
เรื่องมหาเวสสันดรชาดก สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ
ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์
ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง
๑๐ บารมี
อานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติ การตั้งใจฟังเทศน์มหาชาติให้จบเพียงวันเดียวครบบริบูรณ์ ทั้ง ๑๓
กัณฑ์จะเป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาทุกประการดังนี้
๑.
เมื่อตายจากโลกนี้แล้ว
จะมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้า
พระนามว่า ศรีอริยเมตไตย ในอนาคต
๒.
เมื่อดับขันธ์ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
จะเสวยทิพยสมบัติมโหฬาร
๓.
เมื่อตายไปแล้วจะไม่ตกนรก
๔.
เมื่อถึงยุคพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ศรีอริยเมตไตย
จะได้จุติไปเกิดเป็นมนุษย์
๕.
ได้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์
จะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอริยบุคคล
ในบวรพุทธศาสนา
มูลเหตุการณ์เล่าเรื่องมหาชาติ
คัมภีร์ธัมมบทขุททกนิกายกล่าวว่า
เรื่องเวสสันดรชาดกเป็นพุทธดำรัสที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ขีณาสพสองหมื่นรูป และพระประยูรญาติที่นิโครธารามหาวิหารในนครกบิลพัสดุ์ ในคราวเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา
และพระวงศ์ศากยะบรรดาพระประยูรญาติไม่ปรารถนาจะทำความเคารพพระองค์ ด้วยเห็นว่าอายุน้อยกว่า
พระองค์ทรงทราบความคิดนี้จึงทรงแสดงยมกปกฏิหาริย์
โดยเสด็จขึ้นเบื้องนภาอากาศแล้วปล่อยให้ฝุ่นละอองธุลีพระบาทตกลงสู่เศียรของพระประยูรญาติทั้งหลาย พระประยูรญาติจึงได้ละทิ้งทิฐิแล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า ขณะนั้นได้เกิดฝนโบกขรพรรษ
พระภิกษุทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์จึงได้ทูลถาม พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต แล้วจึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก
หรือเรื่องมหาชาติให้แก่พระภิกษุและพระประยูรญาติ อ่านเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น